วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการดูแลรักษา ไม้ดอกไม้ประดับ


        หลังจากทำการปลูกไม้ดอกประดับลงในแปลงใหม่ ๆ ควรทำร่มบังแดดให้กับต้นกล้าที่ปลูกประมาณ 7 - 10 วัน เพื่อช่วยให้ต้นกล้านั้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น สำหรับการดูแลรักษาที่ควรปฏิบัติ คือ
           1. การให้น้ำ เมื่อทำการปลูกใหม่ ๆ ควรรดน้ำให้วันละ 2 ครั้ง คือในตอนเช้าและตอนเย็น หรือตามความต้องการของพันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น บางวันลมแรง แดดจัด อากาศร้อน การคายน้ำย่อมมีมากอาจต้องมีการให้น้ำเพิ่มขึ้น สภาพของดินก็มีส่วนสำคัญต่อการให้น้ำ  ดินบางชนิดอาจต้องรดน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากดินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ดังนั้นผู้ปลูกจึงต้องเรียนรู้ถึงความ ต้องการน้ำของพืชที่ปลูกด้วยตัวเองในระยะแรกของการปลูกซึ่งจะทำให้ทราบว่าจะต้องให้น้ำวันละกี่ครั้ง หรือ กี่วันครั้ง
            2. การพรวนดิน เพื่อกำจัดวัชพืชควรทำทุก 10 วัน ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น แปลงขนาด 4 X 4 เมตร อาจใช้เสียมมือ หรือ ส้อมพรวน ค่อย ๆ พรวนดินระหว่างแถวที่ปลูกพืช แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรใช้จอบพรวน การพรวนดินบริเวณที่มีรากฝอยจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างรากฝอยมากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าไปตัดรากพืชโดยเฉพาะรากแก้ว เพราะจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้
            3. การให้ปุ๋ย ถึงแม้ว่าเวลาเตรียมดินจะมีการใส่ปุ๋ยลงในแปลงแล้วก็ตามแต่ก็ควรให้ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารแก่พืชเพิ่ยง เร่งในส่วนที่เราต้องการ เช่น ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
           4.การป้องกัน  ใช้ยาคลอเดน 75% อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลากฉีดพ่น บริเวณใบและดอกขณะดอกยังตูม การกำจัด ใช้ยานิโคตินซัลเฟต 40% อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลาก
        5.ดูแดดดูร่ม : ดอกไม้ส่วนใหญ่นั้นชอบแดด บางชนิดหากขาดแดดไปจะทำให้สีของดอกซีดลง ในขณะที่บางชนิดถ้าโดนแดดมากก็อาจตายได้ ผู้ที่ปลูกดอกไม้จึงจำเป็นต้องรู้ว่าในบ้านของตัวเองนั้นพื้นที่ตรงไหนมีร่มเงา มีแดดรำไร หรือมีแดดจัด

        6.ดูพื้นที่ : การเตรียมพื้นที่ก่อนเลือกชนิดต้นไม้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเกี่ยวเนื่องกับการเลือกชนิดของไม้ที่จะปลูก เช่น ไม้เลื้อยใช้พื้นที่น้อยไม้ยืนต้นใช้พื้นที่มาก เป็นต้น นอกจากนี้ควรคำนึงถึงเฉดสีของดอกไม้ด้วยเมื่อกำหนดพื้นที่ปลูก ไม่ใช่นำมาสุมกันเฉย ๆ เพราะหากนำดอกไม้ที่สีเข้ากันมาวางเคียงกัน ก็จะทำให้ดูสวยยิ่งขึ้นเมื่อดอกบาน

      7.ดูอากาศ : สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย เช่น แดดดี ไม่ร้อนจัด และความชื้นพอเหมาะ ย่อมทำให้ดอกไม้ขึ้นงาม แต่ถ้าอากาศร้อนและแห้งอย่างในกรุงเทพฯ อาจจำเป็นต้องหาต้นไม้ใหญ่มาปลูกในบริเวณสวนเพื่อให้ร่มเงาและเป็นการกักเก็บความชื้น
     8. การตัดหญ้า ตัดปีละ 4 ครั้ง คือต้นเดือน มกราคม / พฤษภาคม สิงหาคม และ ปลายเดือนตุลาคม
การใส่ปุ๋ย  ใส่ 3 ช่วงดังนี้ หลังตัดหญ้าเดือนพฤษภาคม ใส่สูตร 8-24-24 / หลังตัดหญ้าเดือนสิงหาคม ใส่สูตร 13-13-21 / และต้นเดือนพฤศจิกายน ใส่สูตร 16-16-16 ครับ
การเก็บเกี่ยว
     9.สภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่จะเป็นตัวชี้บ่งถึงชนิดของไม้ผลที่จะใช้ปลูก ข้อมูลต่างๆของรายงานสภาพภูมิอากาศนั้น สามารถขอรายละเอียดจากกรมอุตุนิยมวิทยา โดยควรเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากสถานรีตรวจอากาศที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ที่จะใช้สร้างสวนให้มากที่สุด สภาพภูมิอากาศต่างๆที่ควรนำมาพิจารณาประกอบด้วย
    10. ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ
          1. แบ่งตามความต้องการแสงในการเจริญเติบโตสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.1 พืชในร่ม  (indoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงต่ำ  ควรปลูกในที่ร่ม มี
แสงรำไร จะทำให้พืชมีการสังเคราะห์แสงดี อย่าให้ถูกแดดจัด  เพราะจะทำให้ใบไหม้และตายได้ เช่น เฟิร์นต่าง ๆ สาวน้อยประแป้ง  บอนสี เป็นต้น
1.2  พืชกลางแจ้ง (Outdoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงสูง จึงจะทำให้
ขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชทำได้ดี  พืชประเภทนี้จึงต้องปลูกกลางแจ้ง ถูกแดดจัดตลอดทั้งวัน เช่น กุหลาบ เข็ม ยี่โถ ดาวเรือง ดาวกระจาย ชวนชม เฟื่องฟ้า เป็นต้น


2. แบ่งตามลักษณะรูปทรงของลำต้น ใบ ได้แก่พรรณไม้ที่มุ่งเน้นความสวยงามที่รูปทรงของ
ลำต้น พุ่ม ใบ แบ่งได้ดังนี้
            2.1. ไม้ยืนต้น (Tree)  ส่วนมากเป็นพรรณไม้ที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุยืนนานหลายปี มีดังนี้
            (1) ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงคู่  ได้แก่  ไม้ให้ร่มเงา เช่น ประดู่แดง ประดู่บ้าน จามจุรี ทองกวาว คูณ นนทรีย์ ตะแบก เสลา พิกุล ลั่นทม ไทร ชงโค ฯลฯ  และไม้ยืนต้นที่มีลักษณะพิเศษของลำต้น ใบ หรือทรงพุ่มสวยงาม เช่น เฟื่องฟ้าตอ โมกตอ ไม้ดัดไม้แคระ ซองออฟอินเดีย ฯลฯ
            (2)  ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น จันทน์ผา ปาล์มชนิดต่าง ๆ (จั๋ง อินทผลัม ปาล์มน้ำมัน ตาล หมากเขียว หมกเหลือง หมากนวล ฯลฯ)
            2. 2 ไม้พุ่ม  (Shrub)   เป็นพรรณไม้ที่ส่วนมากจะขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน   หรือ   ตัดชำ   ปลูกแล้ สามารถบังคับพุ่มได้    มี   2   กลุ่ม ดังนี้
            (1) ชนิดตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้  เช่น หูปลาช่อน ชบาด่าง นีออน ลิ้นกระบือ เข็มเชียงใหม่ เข็มพิษณุโลก บานบุรีพุ่ม ฯลฯ
            (2) ชนิดซอยบังคับทรงพุ่ม จะใช้กับพรรณไม้ที่ต้องการให้ออกดอก  และต้องการควบคุมความสูงของทรงพุ่ม เช่น เฟื่องฟ้า เข็มปัตตาเวีย เข็มมาเลเซีย เล็บครุฑ โกสน ฯลฯ
             2.3 ไม้กอ  เป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหัว หน่อหรือเหง้า ได้แก่ ขิงแดง ข่าด่าง รางทอง เขียวหมื่นปี กล้วยกำมะหยี่ เสน่ห์ขุนแผน กาเหว่าลาย หนวดปลาดุก ม้าเวียน เศรษฐีไซ่ง่อน กำแพงเงิน กาบหอย สัปปะรดสี ฯลฯ
             2.4 ไม้คลุมดิน เป็นพืชที่มีลำต้นสั้นหรือลำต้นมีลักษณะเลื้อยยาวแผ่คลุมดินได้ดี เช่น มันเทศด่าง ผกากรองเลื้อย
            3. แบ่งตามความสวยงามหรือการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของพรรณไม้ แบ่งได้ดังนี้
                3.1  พืชพรรณที่มีโคนต้นหรือรากสวยงาม เช่น ไทร โพธิ์ ชวนขม หมากเล็กหมากน้อย สนเลื้อย ฯลฯ

                3.2 พืชพรรณที่มีลำต้นแปลกสวยงาม เช่น ไม้ดัดไม้แคระ ปาล์มชนิดต่าง ๆ  ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น