วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกบานไม่รู้โรย























การปลูก
การเพาะเมล็ด
เป็นวิธีง่ายและสะดวกที่สุด เมล็ดบานไม่รู้โรย มีเปลือกหุ้มหนา ดังนั้นก่อนเพาะควรแช่น้ำประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้
เปลือกหุ้มเมล็ดดูดน้ำจนชุ่มเสียก่อน แล้วจึงนำไปเพาะในกระบะเพาะ ที่มีเถ้าแกลบผสมทรายอัตราส่วน 4 : 1 รดน้ำ
พอชุ่มทุกวันเมล็ด จะงอกภายใน 7-10 วัน พอกล้าเริ่มมีใบจริง 1-2 คู่ ก็ย้ายไปปลูกในแปลง
ระยะปลูก
ใช้ระยะ 30 x 30 เซนติเมตร หรือ 40 x 40 เซนติเมตร โดยปลูกหลุมละ 1 ต้น
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กรัม/ต้น เดือนละครั้ง โดยครั้งแรกใส่หลังจากย้ายมาปลูกในแปลงประมาณ 1 สัปดาห์
การให้น้ำ
บานไม่รู้โรยทนแล้งได้ดี สามารถให้น้ำสัปดาห์ละครั้งหรือถ้าปลูกในดินทรายควรให้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเวลาที่เหมาะสม
ในการให้น้ำคือ เวลาในช่วงเช้าเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา
การเด็ดยอด
เพื่อให้บานไม่รู้โรยแตกกิ่งก้านจำนวนมาก จึงมีการเด็ดยอดเมื่อต้นมีความสูงประมาณ 8-10 นิ้ว ยอดที่เด็ดออกควรยาว
ประมาณ 0.5-1 นิ้ว การแตกกิ่งก้านมากจะเป็นการเพิ่มปริมาณดอกมากขึ้นด้วย
บานไม่รู้โรยเป็นไม้ที่กำเนิดอยู่ในแถบร้อนของทวีปเอเชีย ทนต่อความร้อนความแห้งแล้งได้ดี เป็นไม้ล้มลุก ทรงพุ่มสูงประมาณ 100-150 ซ.ม ออกดอกเดี่ยว ขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3/4นิ้ว กลีบดอกแข็งเล็กจัดเรียงตัวรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น มีสีชมพู ขาว ม่วงอมฟ้า และส้ม ดอกใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดและแห้ง

ความเป็นมงคล
ดอกบานไม่รู้โรย ถือเป็นไม้ดอกที่ชื่อเป็รมงคลนามอยู่แล้วว่า บานไม่รู้โรย จะช่วยเสริม ด้านความรักของผู้อยู่อาศัยและคู่รักให้ผูกพันมั่นคงต่อกัน
การปลูก
เนื่องจากบานไม่รู้โรย เป็นดอกไม้ที่ปลูกง่าย และไม้ต้องการพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์มากนักหรือปลูกในดินชนิดใดก็งอกได้ แต่ทั้งนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ลงไปในดินบ้าง เพื่อการเจริญเติบโตและดอกจะได้มีคุณภาพดีดียิ่งขึ้นการเก็บดอกมาทำแห้งไม่ควรเก็บช้าเกินไป เพราะดอกจะไม่ได้ขนาดและสีซีด การตัดก็ควรให้มีก้านดอกติดไปด้วยยาวประมาณ5-12 นิ้ว ลิดใบออก มัดรวมกันไว้ในที่ร่ม

การขยายพันธุ์
นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งง่าย สะดวก รวดเร็ว การเพาะควรนำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 3-4 ชม.แล้วนำไปเพาะในกระบะ กลบด้วยวัสดุเพาะ จากนั้นประมาณ 8-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นเริ่มต้นอ่อน

โรคและแมลง
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบและต้น ได้แก่ โรคใบจุดและโรคแอนแทรกโนส โรคทั้งสองชนิด เกิดจากเชื้อรา และระบาดในช่วงฤดูฝน ฉะนั้นผู้ปลูก ควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อรา ไว้ก่อนเป็นครั้งคราว

ดอกดาวเรือง



















การเกษตรเรื่องการดูแลรักษาดาวเรือง
การรดน้ำ ในช่วงเริ่มปลูกจนต้นดาวเรืองมีอายุได้ 7 วัน เกษตรกรควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ เช้าและเย็น และหลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำวันละครั้งเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น และในช่วงดอกดาวเรืองเริ่มบานเกษตรกรจะต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรืองเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 15วัน และ 25 วัน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 35 วัน และ 45 วัน เกษตรกรควรทำการใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน โดยใส่ให้ห่างโคนต้นดาวเรืองประมาณ 6 นิ้ว ฝังปุ๋ยลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นให้เกษตรกรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นดาวเรืองและกลบโคนต้นไว้และทำการรดน้ำให้โชก
การปลิดยอด หรือที่เรียกกันว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้มนั่นเอง ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่เกษตรกรควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ประมาณ 21-25 วัน ใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ข้อควรระวังคือเกษตรกรไม่ควรเด็ดยอดเพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกดาวเรืองบานไม่พร้อมกันและมีดอกดาวเรืองจะมีขนาดเล็ก
การปลิดตาข้าง หลังจากที่เกษตรกรทำการปลิดตายอดประมาณ 7 วัน เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้เกษตรกรทำการปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
ระยะที่ 1 เมล็ดเริ่มมีพัฒนาการงอก มีรากและมีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือวัสดุเพาะ
- การดูแลโดยทั่วไป ควรให้ต้นกล้าได้รับการพรางแสงประมาณ 80% 3-5 วัน เพื่อลด
อุณภูมิและเพิ่มความชื้นให้เหมาะสมต่อ การงอก การรดน้ำควรรดน้ำเปล่า
ระยะที่ 2 ต้นกล้าเริ่มพัฒนามีรากและใบเลี้ยง
- การดูแลในระยะนี้ควรนำต้นกล้าไว้ในสภาพที่มีการพรางแสง 50% เพื่อให้ต้นกล้า สามารถปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อม
ได้ประมาณ 2 วัน การให้น้ำระยะนี้ให้ น้ำปุ๋ย 6:1:7 อัตรา 15 ซีซี ต่อ น้ำ 200 ลิตร วันละ 2 ครั้ง หรือแล้วแต่สภาพอากาศและความชื้น
ระยะที่ 3 ต้นกล้าเริ่มมีใบจริงเจริญขึ้นมา 1คู่
- ระยะนี้ควรให้ต้นกล้าอยู่ในสภาพแสงแดดปกติ ไม่มีการ พรางแสง เพื่อให้ลำต้น และใบเจริญ อย่างสมบูรณ์ การให้ ปุ๋ยควรให้ในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร
ระยะที่ 4 ต้นกล้าเจริญเติบโตมากขึ้นมีใบจริงเพิ่มมากขึ้น สังเกตุราก เริ่มจะเจริญเต็มหลุม
- การดูแลเช่นเดียวกับต้นกล้าระยะที่ 3 วิธีการสังเกต ต้นกล้าพร้อมย้ายปลูกหรือไม่โดยการนับอายุของต้นกล้า จากวันเพาะ ประมาณ 15-18 วัน แล้วแต่ฤดูกาล หรือ สังเกตราก และลำต้นเจริญเต็มที่ รากเจริญเต็มหลุม

ดอกอัญชัน

















อัญชัน ภาษาอังกฤษ : Butterfly pea. หรือ Blue pea. ส่วนดอกอัญชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.สำหรับชื่อพื้นเมืองอื่นๆ เช่น แดงชัน(เชียงใหม่) , เอื้องชัน(ภาคเหนือ) เป็นต้นเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์

อัญชัน มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลายๆคนยังไม่ทราบนั้นก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้และการ “กินดอกอัญชันทุกวัน…วันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย

เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีในการฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ

สรรพคุณอัญชัน

สรรพคุณอัญชันน้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
อัญชันสรรพคุณใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
แก้อาการปัสสาวะพิการ
สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสดๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

ดอกชบา













ชบาเป็นไม้พุ่มขนาด 1-3 เมตร อาจสูงได้ถึง 7-10 เมตร ใบรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบจักหรือขอบใบเรียบ ดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว กลีบรองดอกมี 2 ชั้น สีเขียว ดอกมีทั้งดอกลาและดอกซ้อน มีหลายสี มีทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก ถ้าดอกลาจะมี 5 กลีบ

ชบาเป็นดอกที่สมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้เป็นดอกยาวยื่นขึ้นมากลางดอก ปลายสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 5 แฉกสีแดง เกสรตัวผู้ติดรอบๆ ดอกเป็นสีเหลือง ออกดอกตลอดปี

การปลูกและดูแลรักษา[แก้]
ชบาทำการขยายพันธุ์โดย ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบยอด เป็นไม้ดอกที่ปรับตัวเจริญเติบโตได้ทุกสภาพแวดล้อม แต่ที่เหมาะสมคือสภาพอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีน้ำขังแฉะ การให้น้ำควรให้สม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะสลัดใบล่างทิ้งอย่างรวดเร็ว

แสง ชอบแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรค จะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์[แก้]
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น เสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาว

ไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
ชบา ในวรรณกรรม[แก้]
ชบาปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพระรามลาสระภังคฤๅษ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1

ดอกมะลิ












มะลิ  (Jasmine) เป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกชนิดหนึ่ง  เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นเล็กกลม สูงประมาณ 2 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวแตกสะเก็ดเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น  กิ่งอ่อนมีขนสั้น ๆ สีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ เป็นกระจุก 1-3 ดอก กลีบดอกสีขาวสะอาด มีกลิ่นหอมเย็น  ออกดอกตลอดทั้งปี แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอด สีเขียวอมเหลืองอ่อน ๆ ปลายแยกเป็นเส้น
 สำหรับต้นมะลิที่เริ่มปลูก ให้นำวัสดุปลูก ได้แก่  ดินร่วน กาบมะพร้าวสับ แกลบ ในอัตราส่วน 1:1:1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่ลงกระถางขนาดที่พอเหมาะกับต้นมะลิ จากนั้นจึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก  เพื่อเพิ่มความแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่ต้นมะลิ ควรโรยปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 อัตรา 5 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 6 นิ้ว  หรือ อัตรา 10 กรัม (2 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 10-12 นิ้ว หรือ อัตรา 15 กรัม (3 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 15 นิ้ว โดยการโรยรอบโคนต้นหลังจากปลูกเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้รดน้ำตาม
สำหรับต้นมะลิที่ปลูกไว้อยู่แล้ว
1. การใส่ปุ๋ย  ควรใส่ปุ๋ย ออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 ตามอัตราดังกล่าวข้างต้น ทุก 3 เดือน โดยการโรยรอบโคนต้น แล้วรดน้ำตาม
2. การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนาน ๆ แล้ว เพราะมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งอยู่เสมอ  โดยตัดกิ่งที่แห้งและตายออก จะช่วยให้ต้นมะลิมีทรงพุ่มสวยงาม และช่วยลดปริมาณโรคและแมลงให้น้อยลงด้วย การตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้มะลิแตกตาได้มากขึ้น จึงออกดอกได้มากขึ้นด้วย
3. การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน แล้วค่อยรดน้ำ ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง หรือ สัปดาห์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือ มีน้ำขังอยู่ที่ดินเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้
 Tips : มะลิชอบแสงแดดพอประมาณ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม  มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์  ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การแยกกอ  และการตอนกิ่ง
Tips : เพื่อให้มะลิออกดอกดก ดอกใหญ่ ควรฉีดพ่นด้วย เกอมาร์ บีเอ็ม86  5 ซีซี (1 ช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร  ลงในกระบอกฉีดน้ำ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน (ตามภาพ) จากนั้นนำไป  ฉีดพ่นหลังตัดแต่งกิ่ง  หรือ ฉีดพ่นทุก 10-14 วัน เพราะจะช่วยกระตุ้นการแตกตาดอก
1. โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดหรือถอนต้นขึ้นมาดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
-  หากพบต้นมะลิที่เพิ่งเป็นโรค ควรป้องกันกำจัดโดยใช้  เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ อัตรา 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำ 5 ลิตร  ราดบริเวณโคนต้นที่เป็นโรค
-  หากเป็นมากควรถอนต้นมะลิทิ้ง แล้วนำไปเผาไฟทำลายเสีย แล้วใช้ปูนขาวโรย หรือ  ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วราดลงบนดินบริเวณที่ปลูกต้นมะลิ
- ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาว จากนั้นตากดินบริเวณนั้นไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อให้แสงแดดทำลายเชื้อราที่อาจจะยังคงหลงเหลืออยู่  จากนั้นบำรุงดินด้วยสารอินทรีย์ปรับสภาพดิน เค-ฮิวเมท 2.5 ซีซี (ครึ่งช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากัน  แล้วราดลงดินบริเวณที่ต้องการ  หลังจากนั้นก็นำต้นพืชลงปลูกได้
Tips : ควรมั่นสังเกตต้นมะลิอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรครากเน่าสามารถแพร่กระจายไปกับน้ำที่รดทำให้เกิดการระบาดไปยังต้นพืชอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้
2. โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลม หรือ ถูกชะล้างไปกับน้ำที่รดหรือน้ำฝนได้
การป้องกันกำจัด ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง โดยการนำไปเผาไฟเสีย  หลังจากนั้นฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพนโคเซบ (สารแมนโคเซบ)  อัตรา 5 กรัม (1 ช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร หรือ การ์แรต (โปรคลอราช) 2.5 ซีซี (ครึ่งช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร  คนให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่นจำนวน 2 ครั้ง ทุก  5-7 วัน  จนสังเกตว่าต้นมะลิไม่เป็นโรคแล้ว
Tips : หลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคเรียบร้อยแล้วไม่ควรทิ้งไว้บริเวณต้นพืช เพราะจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังต้นพืชข้างเคียงอื่นได้
หนอนเจาะดอก  เป็นหนอนที่มีลำตัวมีขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวมีสีดำ ระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกมะลิเสียหายมาก โดยตัวหนอนจะเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง
การป้องกันกำจัด
1. เก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก

2. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนได้ 

ดอกแก้ว













ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
แก้วมีถิ่นกำเนิดจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และออสเตรเลีย มันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาได้[2]
การปลูกเลี้ยง[แก้]
สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี
การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา[แก้]
ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง ชอบดินร่วนซุย หรือดินร่วนทราย ต้องการแสงแดดจัด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอน
วรรณกรรม
แก้วปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศธารทองแดง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย
นมตำเลียเรี่ยทางไป
หอมหวังวังเวงใจ
ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว
ความเชื่อ
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
ดอกไม้และต้นไม้ประจำสถาบัน[แก้]
ดอกไม้ประจำ จังหวัดสระแก้ว
ต้นไม้ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้นไม้ประจำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ต้นไม้ประจำ โรงเรียนทวีธาภิเศก
ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสตรีนนทบุรี
ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสระแก้ว

ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร

ดอกกุหลาบ





ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
กายวิภาคของกุหลาบ
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น

ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น

ประเภท
กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้

กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น
กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี
สายพันธุ์[แก้]
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้

มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถบานได้ทนถึง 16 วัน
กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง
การขยายพันธุ์กุหลาบ[แก้]
กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ

สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว

การดูแล[แก้]
= การให้น้ำแก่ดอกกุหลาบ
ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
การให้ปุ๋ยก่อนปลูกกับดอกกุหลาบ[แก้]
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูกให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหารในสัดส่วนที่เท่ากัน
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9
การตัดแต่งกิ่ง
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูกเมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ
การตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี

โรค 
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา
โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง
แมลงและไรศัตรู                    
ไรแดง (Spider mite)
เพลี้ยไฟ (Thrips)
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)
การเก็บเกี่ยว

ระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวกุหลาบ คือ ตัดเมื่อดอกตูมอยู่หรือเห็นกลีบดอกเริ่มแย้ม (ยกเว้นบางสายพันธุ์) หากตัดดอกอ่อนเกินไปดอกจะไม่บาน ในฤดูร้อนควรตัดในระยะที่ยังตูมมากกว่าการตัดในฤดูหนาวเพราะดอกจะบานเร็วกว่า