วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกมะลิ












มะลิ  (Jasmine) เป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกชนิดหนึ่ง  เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นเล็กกลม สูงประมาณ 2 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวแตกสะเก็ดเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น  กิ่งอ่อนมีขนสั้น ๆ สีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ เป็นกระจุก 1-3 ดอก กลีบดอกสีขาวสะอาด มีกลิ่นหอมเย็น  ออกดอกตลอดทั้งปี แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอด สีเขียวอมเหลืองอ่อน ๆ ปลายแยกเป็นเส้น
 สำหรับต้นมะลิที่เริ่มปลูก ให้นำวัสดุปลูก ได้แก่  ดินร่วน กาบมะพร้าวสับ แกลบ ในอัตราส่วน 1:1:1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่ลงกระถางขนาดที่พอเหมาะกับต้นมะลิ จากนั้นจึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก  เพื่อเพิ่มความแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่ต้นมะลิ ควรโรยปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 อัตรา 5 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 6 นิ้ว  หรือ อัตรา 10 กรัม (2 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 10-12 นิ้ว หรือ อัตรา 15 กรัม (3 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 15 นิ้ว โดยการโรยรอบโคนต้นหลังจากปลูกเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้รดน้ำตาม
สำหรับต้นมะลิที่ปลูกไว้อยู่แล้ว
1. การใส่ปุ๋ย  ควรใส่ปุ๋ย ออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 ตามอัตราดังกล่าวข้างต้น ทุก 3 เดือน โดยการโรยรอบโคนต้น แล้วรดน้ำตาม
2. การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนาน ๆ แล้ว เพราะมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งอยู่เสมอ  โดยตัดกิ่งที่แห้งและตายออก จะช่วยให้ต้นมะลิมีทรงพุ่มสวยงาม และช่วยลดปริมาณโรคและแมลงให้น้อยลงด้วย การตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้มะลิแตกตาได้มากขึ้น จึงออกดอกได้มากขึ้นด้วย
3. การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน แล้วค่อยรดน้ำ ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง หรือ สัปดาห์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือ มีน้ำขังอยู่ที่ดินเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้
 Tips : มะลิชอบแสงแดดพอประมาณ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม  มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์  ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การแยกกอ  และการตอนกิ่ง
Tips : เพื่อให้มะลิออกดอกดก ดอกใหญ่ ควรฉีดพ่นด้วย เกอมาร์ บีเอ็ม86  5 ซีซี (1 ช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร  ลงในกระบอกฉีดน้ำ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน (ตามภาพ) จากนั้นนำไป  ฉีดพ่นหลังตัดแต่งกิ่ง  หรือ ฉีดพ่นทุก 10-14 วัน เพราะจะช่วยกระตุ้นการแตกตาดอก
1. โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดหรือถอนต้นขึ้นมาดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
-  หากพบต้นมะลิที่เพิ่งเป็นโรค ควรป้องกันกำจัดโดยใช้  เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ อัตรา 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำ 5 ลิตร  ราดบริเวณโคนต้นที่เป็นโรค
-  หากเป็นมากควรถอนต้นมะลิทิ้ง แล้วนำไปเผาไฟทำลายเสีย แล้วใช้ปูนขาวโรย หรือ  ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วราดลงบนดินบริเวณที่ปลูกต้นมะลิ
- ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาว จากนั้นตากดินบริเวณนั้นไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อให้แสงแดดทำลายเชื้อราที่อาจจะยังคงหลงเหลืออยู่  จากนั้นบำรุงดินด้วยสารอินทรีย์ปรับสภาพดิน เค-ฮิวเมท 2.5 ซีซี (ครึ่งช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากัน  แล้วราดลงดินบริเวณที่ต้องการ  หลังจากนั้นก็นำต้นพืชลงปลูกได้
Tips : ควรมั่นสังเกตต้นมะลิอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรครากเน่าสามารถแพร่กระจายไปกับน้ำที่รดทำให้เกิดการระบาดไปยังต้นพืชอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้
2. โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลม หรือ ถูกชะล้างไปกับน้ำที่รดหรือน้ำฝนได้
การป้องกันกำจัด ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง โดยการนำไปเผาไฟเสีย  หลังจากนั้นฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพนโคเซบ (สารแมนโคเซบ)  อัตรา 5 กรัม (1 ช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร หรือ การ์แรต (โปรคลอราช) 2.5 ซีซี (ครึ่งช้อนชา) ผสมน้ำ 5 ลิตร  คนให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่นจำนวน 2 ครั้ง ทุก  5-7 วัน  จนสังเกตว่าต้นมะลิไม่เป็นโรคแล้ว
Tips : หลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคเรียบร้อยแล้วไม่ควรทิ้งไว้บริเวณต้นพืช เพราะจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังต้นพืชข้างเคียงอื่นได้
หนอนเจาะดอก  เป็นหนอนที่มีลำตัวมีขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวมีสีดำ ระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกมะลิเสียหายมาก โดยตัวหนอนจะเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง
การป้องกันกำจัด
1. เก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก

2. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น